ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย สล็อตออนไลน์ ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี พ.ศ. 2557 ดาวพลูโตมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 32.6 หน่วยดาราศาสตร์ แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 5.5 ชั่วโมง ถึงจะไปถึงดาวพลูโตที่ระยะทางเฉลี่ย (39.5 หน่วยดาราศาสตร์)…
-
Recent Posts
Archives
Categories
Tags
กิจการอวกาศ ขยะอวกาศ จรวด จูปิเตอร์ 5 ดวงจันทร์ ดวงจันทร์แกนีมีด ดวงอาทิตย์ ดาวบริวาร ดาวพฤหัสบดี ดาวพุธ ดาวยูเรนัส ดาวศุกร์ ดาวหาง ดาวอังคาร ดาวเกตุ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเทียม ดาวเนปจูน ดาวเสาร์ ต่างดาว ทฤษฎี ทฤษฎีทางดาราศาสตร์ นักบินอวกาศ นักวิทยาศาสตร์ นาซา บิกแบง ยานสำรวจ ยานอวกาศ ยูโรปา ระบบสุริยะ ลี้ลับ วัตถุขนาดใหญ่ สำรวจอวกาศ ห้วงอวกาศ อวกาศ อาคันตุกะ เอเลี่ยน แม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง แอมัลเธีย โบราณ โลก ใจกลางระบบสุริยะ ไททัน