เพื่อนๆเคยได้ยินหรือเปล่าคะว่าวิวัฒนาการของอารยธรรมเทคโนโลยีในจักรวาลนั้นได้แบ่งเป็น 3 ระดับ ซึ่งเป็นระดับที่แบ่งการใช้เทคโนโลยีในการเก็บกักพลังงานจากดาวฤกษ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แล้วเชื่อไหมคะว่าตามการแบ่งระดับในทฤษฎีนี้ โลกของเรายังไม่ติดสักระดับเดียว นั่นก็เป็นเพราะว่าเรายังเป็นดวงดาวที่ล้าหลังและยังไม่สามารถจัดการพลังงานในระบบสุริยะของเราได้
.

แต่ยังไงก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้นิ่งนอนใจ ออกแนวความคิดมาใหม่ที่จะสามารถทำให้โลกนั้นสามารถควบคุมการใช้พลังงานของดวงอาทิตย์ได้ ซึ่งถ้าทำได้จริงจะเป็นการก้าวข้ามอารยธรรมเทคโนโลยีไปอีกหลายระดับ ยกระดับโลกของเราให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญา ซึ่งแนวคิดการควบคุมพลังงานจากดาวฤกษ์นี้จะเป็นอย่างไรวันนี้พวกเรา จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกัน แต่ก่อนจะไปรับชม อย่าลืมกด Like กด Share และกดติดตามด้วยนะคะ
.

ทดลองเล่นสลอต

อย่างที่บอกไปตอนต้นว่าได้เคยมีนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวรัสเซียคนหนึ่งได้จำแนกระดับของอารยธรรมเทคโนโลยีออกมาเป็น 3 ระดับ ได้แก่

ระดับที่ 1 Planetary Civilization ระดับนี้คือสิ่งมีชีวิตจะสามาถใช้พลังงานและกักเก็บพลังงานทั้งหมดของดาวดวงนั้นๆได้

ระดับที่ 2 Stellar Civilization คือระดับที่สิ่งมีชีวิตสามารถใช้พลังงาน และควบคุมพลังงานในระบบสุริยะได้

ระดับที่ 3 Galactic Civilization คือระดับที่สิ่งมีชีวิตสามารถใช้พลังงานและควบคุมพลังงานทั้งหมดในกาแล็กซี่ได้
.

จากทั้ง 3 ระดับที่ได้บอกไปข้างต้น เชื่อไหมว่าโลกของเรานั้นยังไม่ถึงสักระดับเดียว นั่นก็เป็นเพราะว่าในโลกของเรามีทรัพยากรและแหล่งพลังงานมากมาย แต่มนุษย์นั้นยังไม่สามารถบริหารจัดการพลังงานทั้งหมดบนโลกให้ใช้ได้อย่างสมดุล ทุกวันนี้เป็นการใช้และหมดไปซึ่งในสักวันหนึ่งพลังงานจะลดลงและไม่มีแหล่งพลังงานบนโลกที่หลงเหลืออยู่ จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนยังไม่จัดให้โลกนั้นอยู่ในระดับใดได้ในทฤษฎีนี้
.

ทดลองเล่นสล๊อต

แต่ยังไงก็ตามโลกของเราก็ยังมีนักคิดนักพัฒนาอย่าง ฟรีแมน ไดสัน ต้นกำเนิดความคิดไดสันสเฟียร์ (Dyson Sphere) ที่จะสร้างโครงสร้างวงล้อมเพื่อที่จะเก็บพลังงานจากดวงอาทิตย์ และถ่ายโอนพลังงานนำกลับมาใช้ยังโลกโดยใช้การถ่ายโอนแบบไร้สายเหมือนการชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์โดยไม่ใช้สาย ซึ่งถ้าทำได้โลกของเราจะก้าวข้ามอารธรรมเทคโนโลยีไปสู่ระดับที่ 2 Stellar Civilization เพราะว่าเราจะสามารถควบคุมและใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด
.

แต่แน่นอนว่า แนวคิด Dyson Sphere นี้เป็นการคิดที่ใหญ่มากๆ และทำได้ยากมากๆ อาจจะต้องอาศัยระยะเวลาเป็นหมื่นๆปีที่จะสามารถไปสร้างได้สำเร็จ แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น เรามาดูกันเถอะว่า Dyson Sphere นี้ฟรีแมนไดสันเขาได้ออกแบบมายังไงบ้างว่าจะให้มันสามารถไปล้อมรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ดวงที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะได้อย่างไร รูปร่างของแนวคิด Dyson Sphere ที่จะสร้างเทคโนโลยีวงแหวนไปล้อมรอบดวงอาทิตย์นั้นมี 3 รูปร่างด้วยกัน ดังนี้
.

1.Dyson swarm
เป็นลักษณะของฝูงไดสัน คือการสร้างสถานีอวกาศหรือดาวเทียมจำนวนมากที่เป็นอิสระจากกัน โคจรรอบดาวฤกษ์ในตำแหน่งที่ไม่ทับซ้อนกันและเรียงตัวกันเป็นวงแหวน โดยมีหน้าที่และภารกิจเดียวกันคือการกักเก็บพลังงานจากดวงอาทิตย์และถ่ายโอนกลับมายังโลกของเรา โดยข้อดีของโครงสร้างที่แยกกันเป็นอิสระแต่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระเบียบนี้จะมีประโยชน์ในเวลาที่เราต้องการควบคุมให้มันขยายวงโคจร หรือลดขนาดวงโคจร ซึ่งมันจะสามารถยืดหยุ่นได้ดีกว่าโครงสร้างวงแหวนที่ถาวร นอกจากนี้ยังสามารถแยกผลิตได้ที่ละตัวๆ อีกทั้งหากมีตัวใดที่เกิดความเสียหายก็สามารถนำกลับมาปรับปรุงและส่งตัวใหม่ไปได้ เพราะอุปกรณ์แต่ละตัวไม่ได้มีความสัมพันธ์กัน
.

2.Dyson bubble
เป็นลักษณะของฟองอากาศ ลักษณะนี้คือการใช้ดาวเทียมหรือสถานีอวกาศเรียงตัวกันรอบดวงอาทิตย์คล้ายๆ Dyson swarm ซึ่งอุปกรณ์จะเป็นอิสระต่อกันเพียงแต่มาเรียงตัวกันล้อมรอบดวงอาทิตย์ แต่จะมีส่วนที่ต่างจาก Dyson swarm ตรงที่ดาวเทียมหรือสถานีอวกาศทั้งหมดจะถูกทำให้ลอยเหมือนฟองอากาศ ซึ่งจะขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงหรือใช้แรงดันจากรังสีของดวงอาทิตย์เป็นแรงขับเคลื่อนคล้ายกับเรือใบที่ใช้แรงลม
.

ทดลองเล่นสล๊อต

ซึ่งวิธีการนี้จะไม่ทำให้ดาวเทียมถูกชน หรือบดบังกัน เพราะมันจะลอยอยู่คงที่และขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน แต่ข้อเสียหรือข้อควรระวังในลักษณะการเรียงตัวแบบนี้คือต้องใช้วัสดุที่รองรับการขับเคลื่อนพลังงานจากรังสีหรือพลังงานแสงให้ดาวเทียมสามารถขับเคลื่อนไปได้ ซึ่งวัสดุต้องมีน้ำหนักที่กำลังพอดี หากหนักไป จะทำให้การเคลื่อนที่ลำบาก
.

3.Dyson shell
เป็นลักษณะเเบบเปลือกหุ้ม โดยจะใช้วัสดุเปลือกแข็งขนาดใหญ่ แบบที่ใหญ่พอจะห่อหุ้มดาวฤกษ์ทั้งดวงได้ ซึ่งโครงสร้างแบบนี้จะสามารถกักเก็บพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้เต็มๆ 100% และในส่วนพื้นผิวของ Dyson shell ยังสามารถใช้เป็นแหล่งที่สร้างอาณานิคมได้ด้วย แต่ก็นั่นละใครจะไปอยู่ ยิ่งใกล้ดวงอาทิตย์มากเท่าไรก็ยิ่งร้อนมากเท่านั้น สิ่งที่น่ากังวลของรูปร่างแบบนี้คือการที่ต้องระมัดระวังการชนกันของดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์แคระที่จะโคจรเข้ามาเฉียดใกล้ และทำให้ Dyson shell เสียหาย
.

โปรสล๊อต

จาก Dyson Sphere ทั้ง 3 รูปแบบนี้ยังมีรูปร่างอื่นๆที่นักวิทยาศาสตร์ได้มีแนวคิดเพิ่มเติมโดยนำข้อดี ข้อเสียของทั้ง 3 รูปแบบมาพัฒนาเพื่อเฟ้นหาสิ่งที่ดีและเป็นไปได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามแนวคิดการนำพลังงานและสามารถควบคุมพลังงานของดวงอาทิตย์นี้เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำเกินกว่าที่มนุษย์ในยุคนี้จะสามารถประดิษฐ์ขึ้นมาได้ แต่เชื่อว่าอีกไม่กี่พันปีหมื่นปีข้างหน้า สิ่งประดิษฐ์และเเนวคิดเหล่านี้อาจจะสามารถขึ้นไปใช้งานได้จริง และพาโลกของเราเข้าสู่อารยธรรมเทคโนโลยีในระดับที่ 2 ได้ และมนุษย์ก็จะถูกเรียกว่าสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาได้อย่างภาคภูมิใจ
.

เพื่อนๆคิดว่า Dyson Sphere จะเกิดขึ้นจริงในอีกกี่ปีข้างหน้า และเพื่อนๆคิดว่ามันเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน