อีเอสเอเตรียมลงนาม นำขยะอวกาศกลับโลก
ขยะอวกาศ (Space Debris) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและถูกทิ้งไว้ในวงโคจรรอบโลกโดยไม่ใช้งานแล้ว ได้แก่ ดาวเทียมเก่าที่หมดอายุ ท่อนจรวดนำส่งดาวเทียมและยานอวกาศ ฝาครอบดาวเทียมส่วนหัวจรวด น็อต ข้อต่อ และชิ้นส่วนต่างๆ ของจรวด กากเชื้อเพลิงที่หลงเหลือตกค้าง ของเสียซึ่งทิ้งออกจากยานอวกาศ รวมทั้งเศษชิ้นส่วนที่เกิดจากการพุ่งชนกันเองของขยะอวกาศ และการระเบิดของซากจรวดและดาวเทียม

สล็อตออนไลน์

เกือบหกสิบปีมาแล้วที่มนุษย์เริ่มทิ้งขยะไว้ในอวกาศ โดยการส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2500 สปุตนิก 1 มีขนาดเพียงแค่ลูกบอลชายหาด แต่การส่งมันขึ้นสู่อวกาศต้องใช้จรวดขีปนาวุธข้ามทวีป R-7 rocket ซึ่งมีขนาดสูง 30 เมตร และหนัก 300 ตัน จึงจะขับดันให้มันขึ้นสู่วงโคจรรูปวงรีที่ระยะสูงจากพื้นโลก 215 – 939 กิโลเมตร เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 29,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง โคจรรอบโลกรอบละ 96.2 นาที สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองส่งสัญญาณวิทยุกลับลงมาบนพื้นโลก อย่างไรก็ตามมันมีอายุใช้งานเพียง 21 วัน แบตเตอรีก็หมดพลังงาน มันจึงกลายเป็นขยะอวกาศล่องลอยอยู่ในอวกาศ จนกระทั่งสองเดือนต่อมาได้ถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดลงมาให้เสียดสีกับบรรยากาศโลกและลุกไหม้สลายไป

jumboslot

นอกจากความกังวลเกี่ยวกับขยะบนโลกที่เป็นปัญหาใหญ่แล้ว ในวงโคจรรอบโลกก็มีขยะอวกาศอยู่จำนวนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียมที่ปลดระวาง ชิ้นส่วนของจรวดนำส่งดาวเทียม หรือชิ้นส่วนซากจากยานอวกาศ ที่มีทั้งชิ้นเล็กชิ้นน้อยอย่างนอต ข้อต่อ หรือชิ้นใหญ่ๆอย่างหัวจรวด ฝาครอบดาวเทียม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ลอยเท้งเต้งอยู่บนอวกาศรอบโลก และกลายเป็นสิ่งกีดขวางสำหรับภารกิจอวกาศในอนาคต

เครดิตฟรี

การกำจัดขยะอวกาศไม่ใช่เรื่องง่าย มีความพยายามคิดค้นเทคโนโลยีหลากหลายวิธีที่จะจัดการกับปัญหาใหญ่ดังกล่าว ด้านองค์การอวกาศยุโรปหรืออีเอสเอ ก็มีโครงการที่จะนำขยะอวกาศกลับมา ซึ่งล่าสุดมีการระบุว่ากำลังลงนามในสัญญามูลค่า 86 ล้านยูโร หรือกว่า 3,000 ล้านบาท กับบริษัท ClearSpace SA สตาร์ตอัพสัญชาติสวิสสำหรับภารกิจนำขยะอวกาศขนาดมหึมาที่ลอยอยู่บนวงโคจรกลับมายังโลก โดยในปี พ.ศ.2568 บริษัท ClearSpace SA จะปล่อยยาน ClearSpace-1 เพื่อไปจับวัตถุที่เรียกว่า Vespa payload adapter กลับคืนสู่โลก

สล็อต